สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

๑. แผนที่

๒. ภูมิศาสตร์

เมืองหลวง : กรุงฮานอย
พื้นที่ประมาณ :  ๓๓๑,๒๑๒ ตารางกิโลเมตร
ภูมิประเทศ : ประเทศมีลักษณะเป็นรูปตัว S แนวยาว จากเหนือจรดใต้สุด ประมาณ ๑,๖๕๐ กิโลเมตร และจุดที่แคบที่สุดกว้างประมาณ ๕๐ กิโลเมตร มีแนวชายฝั่งทะเลยาวประมาณ ๓,๒๖๐ กิโลเมตร
ภูมิอากาศ : ภาคเหนือ – มี ๔ ฤดู ได้แก่  ฤดูหนาว (ธ.ค. – ก.พ.) อุณหภูมิเฉลี่ย ๗-๒๐ องศาเซลเซียส
                                                                  ฤดูใบไม้ผลิ (มี.ค. – เม.ย.) อากาศชื้น อุณภูมิเฉลี่ย ๑๗-๒๕ องศาเซลเซียส
                                                                  ฤดูร้อน (พ.ค. – ส.ค.) อากาศร้อนถึงร้อนจัด และมีพายุฝน อุณหภูมิเฉลี่ย ๓๐ – ๔๐ องศาเซลเซียส
ฤดูใบไม้ร่วง (ก.ย. – พ.ย.) อุณหภูมิเฉลี่ย ๒๓ – ๒๘ องศาเซลเซียส
ภาคกลาง – มี ๒ ฤดู ได้แก่ ฤดูฝน (พ.ค. – ต.ค.) และฤดูแล้ง (ต.ค. – เม.ย.) อุณหภูมิเฉลี่ย ๔๐ องศาเซลเซียส
ภาคใต้ – มี ๒ ฤดู ได้แก่ ฤดูฝน (พ.ค. – พ.ย.) และฤดูแล้ง (พ.ย. – เม.ย.) อุณหภูมิเฉลี่ย ๔๐ องศาเซลเซียส

๓. สังคมจิตวิทยา

ประชากร : ประมาณ ๙๙.๘ ล้านคน (ปี พ.ศ.๒๕๖๖)
ภาษาภาษาเวียดนาม
ศาสนาไม่มีศาสนาประจำชาติ แต่มีผู้แสดงตนว่านับถือศาสนาต่าง ๆ ประมาณ ๑๕.๖๕ ล้านคน โดยนับถือศาสนาพุทธ (มหายาน) ร้อยละ ๙.๓, ศาสนาคริสต์ ร้อยละ ๗.๒, ศาสนาอิสลาม ร้อยละ ๐.๑ และอื่น ๆ ร้อยละ ๒.๖ แต่ส่วนใหญ่

๔. การเมือง

ระบอบการปกครอง :    สังคมนิยม โดยมีพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม   (Communist Party of Vietnam) เป็นพรรคการเมืองเดียวและมีอำนาจสูงสุดในการกำหนดนโยบายบริหารประเทศ
เขตการปกครอง :    ๕๘ จังหวัด ๕ มหานคร (ฮานอย, โฮจิมินห์, ไฮฟอง, ดานัง, และ เกิ่นเธอ)
วันชาติ : ๒ กันยายน (ได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส ๒ กันยายน ๒๔๘๘)

๕. เศรษฐกิจ

GDP :    ๔๐๙,๐๐๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ 
GDP growth :  เพิ่มขึ้น ๘.๐๒ และจะขยายตัว ๓.๓๒%
สกุลเงิน :  ด่ง
อัตราแลกเปลี่ยน :  ๑ ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา = ๒๔,๙๗๐ ด่ง หรือ  ๑ บาท = ๖๙๕ ด่ง (อัตราแลกเปลี่ยน ธนาคารเวียดคอมแบงค์ ณ วันที่ ๑ เม.ย.๖๗)

๖. สถานการณ์ทั่วไป

๖.๑  สถานการณ์ด้านการเมืองภายในประเทศ
การเมืองของเวียดนามมีความเป็นเอกภาพและมีเสถียรภาพมั่นคง โดยมีพรรคคอมมิวนิสต์เป็นกลไกสูงสุดที่ควบคุมการบริหารและการปกครองประเทศไว้อย่างเด็ดขาดภายใต้ระบบผู้นำร่วม (Collective Leadership) และที่ประชุมสมัชชาแห่งชาติพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม มีมติเลือก นายโว วาน เทือง ให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี (ตั้งแต่ มี.ค.๖๖ – ปัจจุบัน) และ นายฝ่าม มินห์ จิ๋นห์ ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี (ตั้งแต่ เม.ย.๖๔ – ปัจจุบัน)
๖.๒  สถานการณ์ด้านการเมืองระหว่างประเทศ
ในห้วงปี ๒๕๕๓ เวียดนามมีบทบาทมากขึ้นในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ โดยเฉพาะความสำเร็จในฐานะประธานอาเซียนที่ได้รับความชื่นชมอย่างมาก เฉพาะอย่างยิ่งการนำปัญหาความขัดแย้งในทะเลจีนใต้เข้าสู่เวทีระหว่างประเทศ กับทั้งยังสามารถรักษาระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจไว้ได้ที่ประมาณ ร้อยละ ๗ และประสบความสำเร็จในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ตามยุทธศาสตร์การทำให้เวียดนามเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่ทันสมัยภายในปี ๒๕๖๓ ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของประเทศ
๖.๓  สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ
ระบบเศรษฐกิจของเวียดนามเป็นเศรษฐกิจการตลาดแบบสังคมนิยม (Socialist Oriented market) ภายใต้นโยบายการปฏิรูปทางเศรษฐกิจ “เด่ย เหมย” (DOI MOI) ที่เริ่มใช้เมื่อ ธ.ค.๒๙ คือลดการผูกขาดโดยรัฐ ใช้ระบบ กลไกตลาด ด้วยหลักการ“ค่อยเป็นค่อยไป” (Gradualism) โดยมีเป้าหมาย การพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้เป็นประเทศอุตสาหกรรมที่ทันสมัยภายในปี ๒๕๖๓  เศรษฐกิจของเวียดนามในห้วงปี ๒๕๕๓ ยังคงเติบโตในระดับที่น่าพอใจ และยังมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามเวียดนามจะยังเผชิญกับการสร้างดุลยภาพระหว่างการเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจกับการรักษาระดับเงินเฟ้อ การขาดดุลการค้า และการรักษาค่าเงินด่อง ในปี ๒๕๕๔ รัฐบาลชุดใหม่จะยังคงสานต่อนโยบายด้านเศรษฐกิจ โดยการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ การส่งออก และการส่งเงินกลับประเทศของชาวเวียดนามโพ้นทะเล ยังเป็นปัจจัยหลักที่ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ เพื่อมุ่งพัฒนาประเทศตามแผนยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมระหว่างปี ๒๕๕๔ – ๒๕๖๓ ซึ่งคาดว่าเศรษฐกิจจะเติบโตที่ร้อยละ ๗
๖.๔  ความสัมพันธ์ไทย-เวียดนาม
ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับเวียดนามเมื่อ ๖ ส.ค.๑๙ (ค.ศ.1976) และเปิดสถานเอกอัครราชทูตที่กรุงฮานอย และสถานกงสุลใหญ่ที่นครโฮจิมินห์ ในปี ๒๕๒๑ (ค.ศ.1978) และ ๒๕๓๕ (ค.ศ.1992)  ตามลำดับ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงฮานอยประกอบด้วยสำนักงานผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารและสำนักงานส่งเสริมการค้าไทยในต่างประเทศ ส่วนสถานกงสุลใหญ่ที่นครโฮจิมินห์ประกอบด้วยฝ่ายการพาณิชย์ และสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ปัจจุบันความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเวียดนามเป็นไปอย่างราบรื่น มีความใกล้ชิดและมีกิจกรรมการเยือนการพบปะหารือในระดับผู้นำรัฐบาล รวมทั้งผู้แทนของหน่วยงานราชการทั้งในส่วนกลางและพื้นที่ ตลอดจนหน่วยงานที่มิใช่ภาครัฐอย่างสม่ำเสมอ

๗. การทหาร

ยุทธศาสตร์ทางทหาร
        ให้ความสำคัญต่อการป้องกันประเทศ และส่งเสริมความไว้วางใจกับทุกประเทศ โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างของระบบการเมือง เน้นการพึ่งพาตนเอง แสวงหาความช่วยเหลือจากต่างประเทศตามความจำเป็น เพื่อให้กองทัพมีความพร้อมรบอย่างต่อเนื่อง